Open on Mon – Fri 09:00-18:00

facebook technicalbiomed

PICOSURE CONFERENCE 2023

We are pleased to introduce you to

"PICOSURE CONFERENCE 2023"

PICOSURE FOCUS ON VERSATILE REVOLUTION EXCLUSIVE INSIGHT

Performance & Integrated of Picosecond Laser 755NM.

PICOSURE FOCUS ON VERSATILE REVOLUTION EXCLUSIVE INSIGHT Performance & Integrated of Picosecond Laser 755NM.

Join featured speakers 

👨‍⚕ Clinical Prof. Dr. Niwat Polnikorn

👩‍⚕ Asst. Prof. Dr. Marisa Pongprutthipan

👨‍⚕ Dr. Kentaro Oku

 

Moderator

👩‍⚕ Assoc. Prof. Dr. Ratchathorn Panchaprateep

📍 Date: 29 May 2023
⏳ Time: 9:00 a.m. – 15:00 p.m.
🔰 Venue: King Chulalongkorn Memorial Hospital

Bhumisiri Mangkhalanusorn Building, Floor 12 

Bangkok, Thailand.
👩🏻‍⚕️ Limit 200 seats.

PICOSURE FOCUS ON VERSATILE REVOLUTION EXCLUSIVE INSIGHT Performance & Integrated of Picosecond Laser 755NM.

Register

A copy of your responses will be emailed to the address you provided.

Thank you for your registration

IMCAS Asia 2022
News & Events
Technicalbiomed

IMCAS Asia 2022

ขอเชิญเข้าร่วมงาน“IMCAS Asia 2022”วันที่ 29-30 กันยายน,

Read More »
ADAC IAS 2022
News & Events
Technicalbiomed

ADAC IAS 2022

ขอเชิญเข้าร่วมงานประชุมเชิงปฏิบัติการ“ADAC IAS 2022”วัน

Read More »
PICOSURE EXCLUSIVE WORKSHOP 2022 ครั้งที่ 3

PICOSURE EXCLUSIVE WORKSHOP 2022 (ครั้งที่ 3)

PICOSURE EXCLUSIVE WORKSHOP 2022 ครั้งที่ 3

We are pleased to introduce you to
"PICOSURE EXCLUSIVE WORKSHOP 2022"
The Initiation of The World's First Picosecond Laser 755 NM.

Join featured speakers 
Clin.Prof.Dr.Niwat Polnikorn

📍 Date: 28 February 2022
⏳ Time: 8:00 a.m. – 17:00 p.m.
🔰 Venue: Dr. Niwat’s Skin and Laser Surgery Clinic @Hua Hin, Thailand.
👩🏻‍⚕️ Limit 17 seats.

We hope that you will take the time to visit us at our PicoSure workshop 2022 – The initiation of the world’s first Picosecond laser 755 nm. with our team.

IMCAS Asia 2022
News & Events
Technicalbiomed

IMCAS Asia 2022

ขอเชิญเข้าร่วมงาน“IMCAS Asia 2022”วันที่ 29-30 กันยายน,

Read More »
ADAC IAS 2022
News & Events
Technicalbiomed

ADAC IAS 2022

ขอเชิญเข้าร่วมงานประชุมเชิงปฏิบัติการ“ADAC IAS 2022”วัน

Read More »
Nano fractional RF รักษารอยแตกลาย

ประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้ Nanofractional Radio Frequency เพื่อการรักษารอยแตกลาย

Paper Venus Viva

ประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้ Nanofractional Radio Frequency เพื่อการรักษารอยแตกลาย

Striae distensae (SD) หรือผิวแตกลาย เป็นกลุ่มอาการทางผิวหนัง ที่มักเกิดจากการที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว การตั้งครรภ์ หรือการมีฮอร์โมนคอร์ติโคสเตรียรอยด์ที่สูง ผิวแตกลายสามารถแบ่งได้ 2 ระดับ คือ Striae rubra และ Striae alba โดยวิธีการรักษารอยแตกลายมีหลากหลาย เช่น การใช้เรตินอยด์ การใช้สารเคมีในการลอกผิว หรือการทำ Microdermabrasion แต่ล้วนให้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าพึงพอใจเท่าที่ควร มีงานวิจัยบางงาน ใช้เทคโนโลยี Fractional laser photothermolysis รักษาปัญหาผิวแตกลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่มักก่อให้เกิด Hyperpigmentation ในผู้ป่วยที่มีสีผิวเข้ม

ดังนั้นในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยี fractional radiofrequency มาใช้เพื่อการรักษาผิว ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ดีพร้อมกับข้อจำกัดต่างๆ ที่ลดลง โดยได้รับการรับรองจาก US.FDA ด้านการฟื้นฟูผิว ยิ่งกว่านั้นเทคโนโลยีนี้ยังมีความแตกต่างจากการใช้เลเซอร์ เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้ความสามารถในการจับกับโครโมฟอร์ จึงทำให้สามารถตอบโจทย์ในการรักษาได้ทุกสีผิว

เทคโนโลยีล่าสุดที่ได้พัฒนาเพื่อการฟื้นฟูผิวรูปแบบใหม่นี้ เรียกว่า Nanofractional radiofrequency (RF) มีการใช้เข็มขนาดเล็ก ทำหน้าที่ในการส่งพลังงาน RF ลงสู่ผิวหนังโดยตรงเพื่อให้เนื้อเยื่อผิวเกิดเป็นแผลขนาดเล็กสลับกับผิวที่ดี (Fractionation Technique) และด้วยพินที่มีขนาดเล็ก ทำให้อุปกรณ์นี้สามารถลดผลข้างเคียงต่างๆ พร้อมการฟื้นฟูผิวได้เร็วกว่าเทคโนโลยีอื่นๆ ซึ่งมีงานวิจัยทางคลินิกจำนวนมากที่รับรองผลของการรักษา ในด้านต่างๆ เช่น รอยแผลเป็นจากสิว ริ้วรอย รวมถึงผิวที่เรียบเนียนขึ้น

งานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ Nanofractional radiofrequency สำหรับการรักษาผิวแตกลาย โดยทำการทดลองกับอาสาสมัคร 33 คน ที่มีอายุระหว่าง 18-60 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผิวหนังว่าเป็นผู้มีปัญหาผิวแตกลาย โดยแบ่งอาสาสมัครเป็นกลุ่มละ 11 คน ที่มีรอยโรคอยู่ที่บริเวณต้นขา, หน้าท้อง หรือ ก้น โดยทำการรักษาด้วยเทคโนโลยี Nanofractional RF (Venus Viva™) จำนวน 3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 4 สัปดาห์

เก็บผลลัพธ์ โดยการถ่ายภาพ Before / After ด้วยกล้องดิจิตอลความละเอียดสูง (Olympus XZ10) จำนวน 4 ครั้ง ในช่วงก่อนการรักษา, สัปดาห์ที่ 4, 8 และ 12 หลังการรักษา นอกจากนี้มีการประเมินผลลัพธ์ทางคลินิกด้วย total lesional surface area โดยใช้ Pictzar™ software และมีการวัดขนาด ความกว้างของรอยแตกลายด้วย Capiler measurement

ร่วมกับการบันทึกความพึงพอใจของอาสาสมัคร สำหรับการเปลี่ยนแปลงของรอยโรค ในเรื่องของ Texture ผิว, ขนาด และการเปลี่ยนแปลงโดยรวม ด้วยเกณฑ์คะแนน 5 ระดับ ดังนี้ 1 = ไม่พอใจอย่างยิ่ง 2 = ไม่พอใจ 3 = ค่อนข้างพอใจ 4 = พึงพอใจ 5 = พอใจอย่างยิ่ง สำหรับการประเมินความพึงพอใจของแพทย์ผู้ทำการรักษา โดยการเปรียบเทียบภาพก่อนและหลังการทำทรีทเมนต์ จากแพทย์ผิวหนัง 2 ท่าน โดยใช้ clinical quartile rating scale ดังนี้ : 0 = ผลลัพธ์ดีขึ้น 0-25% , 1 = ผลลัพธ์ดีขึ้น 26-50% , 2 = ผลลัพธ์ดีขึ้น 51-75% และ 3 = ผลลัพธ์ดีขึ้น 75% ขึ้นไป

ซึ่งจากผลลัพธ์ที่ได้หลังการรักษาครั้งสุดท้าย 4 สัปดาห์ พื้นที่ผิวทั้งหมด ทั้งความกว้างและขนาดของผิวแตกลายมีความลดลงจาก baseline อย่างมีนัยสำคัญ (P <0.001) มีการรายงานพบการเกิด Post inflammatory hyperpigmentation (PIH) ในอาสาสมัคร 6 ราย และจากการศึกษาด้านจุลพยาธิวิทยา พบว่าเส้นใยคอลลาเจนและอีลาสตินมีความหนาแน่นมากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญ (P = 0.005 และ 0.012 ตามลำดับ) และอาสาสมัครมีความพึงพอใจในผลการรักษาอยู่ในระดับ 4 และ 5

 

ดังนั้นจากผลการศึกษาวิจัยฉบับนี้สรุปได้ว่า Nanofractional RF  สามารถรักษารอยแตกลาย Striae alba ได้อย่างปลอดภัยและให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูง

Reference :

Napatthaorn P, Thep C, Suwirakorn O et al. An efficacy and safety of nanofractional radiofrequency for the treatment of striae alba, J Cosmetic Derm 2016; 0: 1-7

IMCAS Asia 2022
News & Events
Technicalbiomed

IMCAS Asia 2022

ขอเชิญเข้าร่วมงาน“IMCAS Asia 2022”วันที่ 29-30 กันยายน,

Read More »
ADAC IAS 2022
News & Events
Technicalbiomed

ADAC IAS 2022

ขอเชิญเข้าร่วมงานประชุมเชิงปฏิบัติการ“ADAC IAS 2022”วัน

Read More »
งานวิจัย Picosure

งานวิจัยการรักษาฝ้าเรื้อรังในคนเอเชียด้วย Picosecond Alexandrite Laser

งานวิจัย Picosure

การรักษาฝ้าเรื้อรัง (Refractory Melasma) ในคนเอเชียด้วย Picosecond Alexandrite Laser

Niwat Polnikorn, MD , Emil Tanghetti, MD

การรักษาฝ้านั้น เป็นเรื่องที่สร้างความหงุดหงิดใจต่อทั้งผู้ป่วยและผู้ทำการรักษา ซึ่งวิธีการหลักที่ใช้อย่างกว้างขวางทั่วโลกคือ การรักษาด้วย Hydroquinone แต่เมื่อมีการใช้ในระยะยาวหรือความเข้มข้นสูงอาจส่งผลให้เกิดการระคายเคืองได้ หรืออาจเกิด Paradoxical hyperpigmentation ได้ในบางกรณี สำหรับทางเลือกในการรักษาด้านอื่นๆ เช่น การใช้ chemical peeling หรือเครื่องมือแพทย์ชนิด fractional ablative อื่นๆ อาจให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นเพียงชั่วครั้งชั่วคราว แต่มีความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงได้สูง อีกทั้งในหลายครั้งก็อาจทำให้ฝ้าเหล่านั้นกลับมาเกิดใหม่ได้อีก

 

สำหรับจุดมุ่งหมายของงานวิจัยฉบับนี้เน้นเพื่อการศึกษาความแตกต่างของการรักษาฝ้าเรื้อรังด้วย Picosecond Alexandrite laser (PicoSure) โดยการใช้ diffractive lens array (Focus lens array) เทียบกับ การใช้ Flat optic lens ในกลุ่มผู้หญิงชาวเอเชียที่มีฝ้าเรื้อรัง จำนวน 60 คนที่มี Fitzpatrick Skin Type  IV-VI ซึ่งผู้ร่วมวิจัยทุกคนจะต้องหยุดการรักษาฝ้าด้วยวิธีการเดิมก่อนอย่างน้อยเป็นเวลา 1 เดือน โดยการวิจัยนี้จะแบ่งผู้ร่วมวิจัย เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก ประกอบด้วยผู้ร่วมวิจัย 19 คน ทำการรักษาฝ้าด้วย Flat optic lens กลุ่มที่สอง ประกอบด้วย ผู้ร่วมวิจัย 41 คน ทำการรักษาฝ้าด้วย Diffractive lens array 

 

โดยทั้งสองกลุ่มจะทำการรักษาทุกๆ 2 สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 3 เดือน (รวมทั้งหมด 6 ครั้ง) ร่วมกับการใช้ครีมกันแดด SPF50 PA++++ และป้องกันการเกิด Hyperpigmentation ด้วย 4% Alpha Arbutin และ 15% Ascorbyl phosphate palmitate sodium มีการติดตามและวิเคราะห์ผลเป็นเวลา 6 เดือน โดยบันทึกผลด้วยการถ่ายภาพจากกล้องดิจิตอล ความละเอียด 20 MegaPixels และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของค่า Melasma Severity Index (MSI) ทั้งก่อนการรักษา , หลังการรักษา 3 เดือน และหลังการรักษา 6 เดือน โดยผลลัพธ์จากการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ได้รับการรักษาฝ้าเรื้อรังด้วย Diffractive lens array (Focus lens) มีค่า MSI ที่ดีกว่าอีกกลุ่มหนึ่งถึง 18.5% ดังต่อไปนี้

 

  • กลุ่มแรก ทำการรักษาด้วย Flat optic lens มีค่า MSI ที่ดีขึ้น 57.2% อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.001) และผู้ร่วมวิจัยกว่า 77.8% พึงพอใจในผลลัพธ์ของการรักษา
  • กลุ่มที่สอง ทำการรักษาด้วย Diffractive lens array มีค่า MSI ที่ดีขึ้น 75.7% อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.001) และผู้ร่วมวิจัยกว่า 93.0% พึงพอใจในผลลัพธ์ของการรักษา

ดังนั้นจากงานวิจัยฉบับนี้ แสดงให้เห็นว่า Picosecond Alexandrite Laser พร้อมด้วย Flat lens และ Diffractive Lens สามารถรักษาผู้ป่วยชาวเอเชียแม้อยู่ในสภาพอากาศที่มีแสงแดดจัดได้มีประสิทธิภาพ

Reference :
Niwat P, Emil T, Treatment of Refractory Melasma in Asians With the Picosecond Alexandrite Laser, Dermatol Surg 2020; 00: 1-6

Share this post

IMCAS Asia 2022
News & Events
Technicalbiomed

IMCAS Asia 2022

ขอเชิญเข้าร่วมงาน“IMCAS Asia 2022”วันที่ 29-30 กันยายน,

Read More »
ADAC IAS 2022
News & Events
Technicalbiomed

ADAC IAS 2022

ขอเชิญเข้าร่วมงานประชุมเชิงปฏิบัติการ“ADAC IAS 2022”วัน

Read More »
งานวิจัยประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ Water-Assisted Liposuction

งานวิจัยประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ Water-Assisted Liposuction

งานวิจัยประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ Water-Assisted Liposuction

งานวิจัยประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ Water-Assisted Liposuction เพื่อการดูแลรูปร่าง

Water-assisted liposuction (WAL) เป็นเทคนิคใหม่ของการดูแลรูปร่างที่ได้รับความนิยมอย่างมากในสหรัฐอเมริกามาอย่างยาวนาน ด้วยการใช้เทคโนโลยีพลังน้ำในรูป fan-shaped เพื่อดูดไขมันออกจากร่างกาย รวมทั้งสามารถนำเซลล์ไขมันที่ได้นี้ไปใช้ในการ Grafting หรือใช้ประโยชน์ต่อได้ ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่สูง พร้อมความพึงพอใจของผู้ป่วยหลังการรักษา

 

ในงานวิจัยนี้ ได้ทำการศึกษาถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย ของเทคนิค WAL โดยมีผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นชายและหญิง 41 คน ที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เฉลี่ย 25.5 เพื่อเข้ารับการรักษาด้วยเครื่อง Body-jet ในบริเวณต่างๆ ของร่างกาย โดยมีการบันทึกผลก่อนการผ่าตัด อย่างได้มาตรฐาน รวมทั้งทำการศึกษาทางเนื้อเยื่อวิทยาด้วยการนำเซลล์ไขมันดังกล่าวมาทำการย้อมด้วย  trypan blue vital dye และบ่มเซลล์ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 1 ชั่วโมง และ 6-8 ชั่วโมงหลังการสกัดแยก และนำมาวิเคราะห์ด้วยการส่องกล้องจุลทรรศน์เพื่อดูความอยู่รอดของเซลล์ไขมัน

 

โดยจากการเฝ้าศึกษาและเก็บผลในระหว่างการผ่าตัด และช่วงเวลา 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้ง 41 คน มีการสูญเสียเลือดในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น ไม่มีอาการผิดปกติของระดับความดันโลหิตหรืออาการแทรกซ้อน เช่น วิงเวียนศีรษะ หูอื้อ ตาพร่ามัว คลื่นไส้อาเจียน ต่างๆ เกิดขึ้น เมื่อผ่านไปกว่าสามเดือนผู้เข้ารับการรักษาทุกคนมีผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ ไม่มีภาวะติดเชื้อ ถุงน้ำซีโรมา แผลพุพอง หรือการบาดเจ็บและการชาของเส้นประสาทเนื่องจากการผ่าตัด

 

สำหรับผลการทดสอบการย้อมสีด้วย Trypan blue dye ได้ผลลัพธ์ว่า 90% ของเซลล์ไขมันหลังการเก็บเป็นเวลา 1 ชั่วโมง สามารถกำจัดสีย้อมออกจากเซลล์ได้ ในขณะที่เซลล์ไขมันที่ผ่านการเก็บมาเป็นเวลา 6-8 ชั่วโมง สามารถกำจัดสีย้อมดังกล่าวออกจากเซลล์ได้เพียง 10% ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าเซลล์ไขมันนั้นมีการสูญเสียฟังก์ชั่นการทำงานเมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น

 

ดังนั้นจากผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการดูดไขมันด้วยเทคนิค Water-Assisted Liposuction (WAL) เป็นเทคโนโลยีที่อ่อนโยนและเหมาะสมสำหรับการนำไขมันกลับมาเติมเข้าสู่ร่างกายตนเองได้ เนื่องจากเซลล์ไขมันมีอัตราการรอดชีวิตสูงถึง 90% ในช่วงหนึ่งชั่วโมงแรกหลังการเก็บ มีการใช้ปริมาณ tumescent และ lidocaine dosage ที่น้อยกว่าเทคนิคอื่นๆ พร้อมให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงร่วมกับความปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียงที่รุนแรง ผู้ป่วยสูญเสียเลือดน้อย ไม่มีอาการผิดปกติหรืออาการเป็นพิษเนื่องจากฤทธิ์ของยา มีระยะการพักฟื้นสั้น และผู้เข้ารับการศึกษามีความพึงพอใจต่อผลลัพธ์ที่ได้ ซึ่งสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติภายในระยะเวลา 1 ถึง 2 สัปดาห์

Reference:
Gordon H, Water Assisted Liposuction for Body Contouring and Lipoharvesting: Safety and Efficacy in 41 Consecutive Patients, Aesthetic Surg. J 2011; 31: 76-78

งานวิจัย การ combined นวัตกรรม Legacy กับเทคโนโลยี Cryolipolysis เพื่อลดไขมันและความหย่อนคล้อยบริเวณสะโพก

ผลการ Combined เครื่อง Legacy กับเทคโนโลยีความเย็นเพื่อลดสัดส่วน

งานวิจัย การ combined นวัตกรรม Legacy กับเทคโนโลยี Cryolipolysis เพื่อลดไขมันและความหย่อนคล้อยบริเวณสะโพก

ผลการผสานเทคโนโลยีความเย็น และ Multi-Polar RF ร่วมกับ VariPulse Technology เพื่อการกำจัดไขมัน

เคยสงสัยหรือไม่ ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร? หากทดลอง Combined เครื่อง “Venus Legacy”  ซึ่งมี Multi-Polar RF พร้อมกับ VariPulse Technology ที่สามารถสลายไขมันได้ 4 มิติ ช่วยให้คนไข้มีสัดส่วนที่เข้ารูปสวยงาม และตึงกระชับขึ้นอย่างน่าพึงพอใจ ร่วมกับ “เทคโนโลยีความเย็นเพื่อกำจัดไขมัน”

ในบทความนี้ เราได้แปลมาจากเอกสารที่วิจัยโดย The Journal of Drugs in Dermatology (JDD) และเผยแพร่ในหัวข้อ “Prospective Internally Controlled Blind Reviewed Clinical Evaluation of Cryolipolysis Combined With Multipolar Radiofrequency and Varipulse Technology for Enhanced Subject Results in Circumferential Fat Reduction and Skin Laxity of the Flanks”  ซึ่งมีเนื้อหาโดยย่อ ดังต่อไปนี้

การศึกษาทางคลินิกเพื่อประเมินผลของการทำ Cryolipolysis ร่วมกับ Multipolar Radiofrequency พร้อม Varipulse Technology เพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้นในการลดสัดส่วนและลดความหย่อนคล้อยบริเวณสะโพกด้านข้างของร่างกาย

การปรับรูปร่างและกระชับผิวพรรณด้วยวิธี non-invasive กำลังเป็นที่ต้องการมากขึ้นในตลาดด้านความงาม จนนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่หลากหลาย เช่น การใช้อัลตร้าซาวด์ , คลื่นความถี่วิทยุ หรือการใช้ความเย็นในการกำจัดไขมัน นอกเหนือจากนี้ยังมีแนวโน้มที่ผสานนวัตกรรมอันหลากหลายเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของพลังงานนำไปสู่ผลลัพธ์ในการลดความหย่อนคล้อยของผิวร่วมกับการลดไขมันกระชับสัดส่วน พร้อมความพึงพอใจของคนไข้ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของงานวิจัย เพื่อศึกษาถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยี Cryolipolysis ตามด้วยการใช้เทคโนโลยี Mulitpolar RF ร่วมกับ PEMF และเพิ่ม Pulsed suction ที่สามารถปรับจังหวะได้ ในการเพิ่มความกระชับของผิวบริเวณสะโพกด้านข้างของร่างกายหลังการกำจัดไขมันด้วยความเย็น

 

ด้วยการคัดเลือกอาสาสมัครจำนวน 10 คน ที่มีไขมันสะสมบริเวณสะโพกด้านข้างของร่างกาย ซึ่งทุกคนจะได้รับการรักษาด้วย Cryolipolysis หลังจากนั้นสุ่มอาสาสมัครเป็นสองกลุ่ม เพื่อทำการรักษาด้วย radiofrequency + PEMF สองครั้ง (เว้นระยะห่างกันสองสัปดาห์) ตามด้วยการรักษาด้วย radiofrequency + PEMF พร้อมเพิ่ม pulsed suction อีกสองครั้ง (เว้นระยะห่างกันสองสัปดาห์) มีการเก็บผลโดยการถ่ายภาพอาสาสมัคร ทั้งก่อนทำการรักษา, หนึ่งสัปดาห์, 3 เดือน และ 6 เดือนหลังทำการรักษา และประเมินผลโดยการใช้มาตรฐาน GAI ด้วยการใช้ Blind review และ Un-blind review ร่วมกับการบันทึกผลข้างเคียงและบันทึกระดับความพึงพอใจของอาสาสมัครในทุกครั้งของการเก็บผล

 

การวิเคราะห์ผลจาก Blind investigator เผยผลการวิจัยว่า GAI scale ในผู้ที่ได้รับการรักษาแบบผสมผสาน (Cryolipolysis + RF / PEMF / Suction) นั้นผิวหนังมีความยืดหยุ่นที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 1 ระดับ เมื่อเทียบกับการรักษาด้วย Cryolipolysis เพียงอย่างเดียว และผลจาก Unblind investigator อธิบายว่าผู้ที่ได้รับการรักษาแบบผสมผสาน มีผลลัพธ์ด้านความยืดหยุ่นของผิวเพิ่มขึ้นถึง 20% เมื่อเทียบกับการรักษาด้วย Cryolipolysis เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมวิจัยกว่า 50% มีความพึงพอใจถึงผลลัพธ์ที่ได้ และมีความพึงพอใจต่อผลลัพธ์ด้านที่ได้รับการรักษาแบบผสมผสานสูงกว่าอีกหนึ่งด้านถึง 10% อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ไม่มีการรายงานถึงผลข้างเคียงที่รุนแรงตลอดการศึกษา

 

ดังนั้น จากผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การใช้เทคโนโลยี Multipolar RF กับ PEMF ร่วมกับแรงดูดที่เฉพาะตัวของเครื่อง Venus Legacy ร่วมกับการทำ Cryolipolysis ให้ผลลัพธ์ในการเพิ่มความกระชับของผิวหลังการกำจัดไขมันส่วนเกินบริเวณสะโพกด้านข้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งเป็นวิธีการที่ปลอดภัย ไม่เจ็บไม่มีผลข้างเคียงที่รุนแรง ทั้งยังเพิ่มความพึงพอใจของผู้เข้ารับการรักษาได้อย่างมีนัยสำคัญ

สามารถดาวน์โหลดงานวิจัยฉบับเต็มได้ที่ด้านล่างนี้

Paper Legacy

FREE DOWNLOAD

Send download link to:

Reference :
Julius F, Michael G, Neil S, Prospective Internally Controlled Blind Reviewed Clinical Evaluation of Cryolipolysis Combined With Mulitpolar Radiofrequency and Varipulse Technology for Enhanced Subject Results in Circumferential Fat Reduction and Skin Laxity of the Flanks, J. Drugs Dermatol 2016; 15: 1354-1358

งานวิจัย 1060 nm diode laser for fat reduction

งานวิจัย 1060 nm Diode Laser for Fat Reduction

งานวิจัย 1060 nm diode laser for fat reduction

งานวิจัย 1060 nm Diode Laser for Fat Reduction

หนึ่งในงานวิจัยที่ชี้ชัดว่าการใช้ Diode Laser ที่ความยาวคลื่น 1060 nm สามารถกำจัดไขมันบริเวณหน้าท้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องผ่าตัดและไม่ต้องพักฟื้น ทั้งยังมีความปลอดภัยสูงต่อทุกประเภทผิว ทำให้มั่นใจได้ว่าเครื่อง WarmSculpting with SculpSure ซึ่งเป็นเครื่องไดโอดเลเซอร์ที่ใช้ความยาวคลื่น 1060 นาโนเมตร สามารถกำจัดไขมันดื้อด้านได้อย่างมีประสิทธภาพ อย่างแท้จริง

โดยในบทความนี้ เราได้แปลมาจากเอกสารที่วิจัยโดย The Journal of Drugs in Dermatology (JDD) และเผยแพร่ในหัวข้อ “Safety and Efficacy of a Non-Invasive 1060 nm Diode Laser for Fat Reduction of the Abdomen” ซึ่งมีเนื้อหาโดยย่อ ดังต่อไปนี้

ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของไดโอดเลเซอร์ 1060 นาโนเมตร สำหรับการรักษาการลดไขมันที่บริเวณหน้าท้อง

การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเป็นที่ทราบกันดี ว่าสามารถนำไปสู่การเสียฟังก์ชั่นการทำงานของเซลล์ไขมันจนเกิดการตาย (Apoptosis) ได้ โดยในงานวิจัยนี้เป็นการประยุกต์ใช้เลเซอร์ความยาวคลื่น 1060 นาโนเมตร ส่งพลังงานผ่านทางผิวหนังเพื่อกระตุ้นให้เกิดการตายของเซลล์ไขมันบริเวณท้องอย่างถาวร

 

ซึ่งวิจัยโดยการทดลองกับอาสาสมัคร 35 คน ที่เข้ารับการรักษาด้วยเลเซอร์ 1060 นาโนเมตร ร่วมกับการควบคุมอาหารและออกกำลังกายควบคู่กันตลอดระยะการวิจัย และการเก็บผลเพื่อเปรียบเทียบผลก่อนทำการรักษา, 6 สัปดาห์ และ 12 สัปดาห์หลังการรักษา ด้วย 3 วิธีการ ดังนี้

  • การถ่ายภาพ Ultrasound เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงความหนาของไขมัน
  • การถ่ายภาพสองมิติความละเอียดสูง และประเมินผลโดย Blind evaluator จากแพทย์ผิวหนัง 3 ท่านที่ได้รับการอบรมและผ่านการรับรองจากทางสมาคม
  • การบันทึกน้ำหนัก

ผลการวิจัยระบุว่า 23% ของอาสาสมัครมีประเภทผิวตาม Fitzpatrick ประเภท 4-6 โดยการทดลองด้วยวิธี Blind evaluator มีความแม่นยำสูงถึง 95% (ตามระยะเวลา คิดเป็น 88% , 97% และ 100% ตามลำดับ) และความหนาของชั้นไขมันมีค่าเฉลี่ยที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (P <0.001) โดยผลเมื่อเทียบกับ 6 สัปดาห์ (ค่าลดลง 1.5 ± 1.23 mm) และผลเทียบ 12 สัปดาห์ (ค่าลดลง 2.65 ± 1.41 mm) พร้อมค่าเฉลี่ยของน้ำหนักที่เปลี่ยนไปอยู่ที่ +0.1 Ib โดยผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นมีเพียงอาการแดงเล็กน้อย ร่วมกับการตึงบริเวณที่ทำการรักษา ซึ่งจะหายได้เองภายใน 1-3 สัปดาห์  

 

ผลการทดลองที่ได้นั้นสามารถสรุปได้ว่า การรักษาด้วยเลเซอร์ความยาวคลื่น 1060 นาโนเมตร สามารถกำจัดไขมันบริเวณท้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยสูงต่อทุกประเภทผิว โดยไม่ต้องผ่าตัดและไม่ต้องพักฟื้น

สามารถดาวน์โหลดงานวิจัยฉบับเต็มได้ที่ด้านล่างนี้

Paper SculpSure

FREE DOWNLOAD

Send download link to:

Reference :
Lawrence S.,Sean T, Sean T.Doherty, Safety and Efficacy of a Non-Invasive 1060 nm Diode Laser for Fat Reduction of the Abdomen, J. Drugs Dermatol 2018; 17: 106-112