Open on Mon – Fri 09:00-18:00

งานประชุมวิชาการ Thaicosderm ร่วมกับ IMCAS ASIA 2020

งานประชุมวิชาการ Thaicosderm ร่วมกับ IMCAS ASIA 2020

thaicosderm ร่วมกับ IMCAS ASIA 2020

IMCAS ASIA CLASS - Online Live Series

พบกับงานประชุมวิชาการ Thaicosderm ร่วมกับ IMCAS ASIA 2020 – ครั้งแรก กับ virtual event เสมือนประชุมจริงตลอดวัน

• Registration Fees – 3,500 THB ( พิเศษ ONLY for THAICOSDERM member )

✓ One-day class features livestreams  ✓ 30 scientific sessions  ✓ Certificate  ✓ CME Credit  ✓ ดูย้อนหลังได้ 2 วัน

• ลงทะเบียนได้ที่ https://www.imcas.com/

• ดูรายละเอียด Program https://www.imcas.com/en/attend/imcas-asia-class-2020/calendar

Download File

PDF PROGRAM

Send download link to:

งานประชุมวิชาการ Thaicosderm ร่วมกับ IMCAS ASIA 2020
งานประชุมวิชาการ Thaicosderm ร่วมกับ IMCAS ASIA 2020
งานประชุมวิชาการ Thaicosderm ร่วมกับ IMCAS ASIA 2020

ดูรายละเอียด Program ได้ที่ https://www.imcas.com/en/attend/imcas-asia-class-2020/calendar

งานประชุมวิชาการ Thaicosderm ร่วมกับ IMCAS ASIA 2020
Anti Aging Beautifully

Anti Aging Beautifully

Anti Aging Beautifully

อบรมฟรี! หลักสูตร Anti Aging Beautifully

สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพร่วมกับ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จัดอบรมออนไลน์หลักสูตร Anti Aging Beautifully ให้กับแพทย์และผู้สนใจทั่วไปฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย!

พบกับวิทยากรต่าง ๆ ที่ล้วนมากความสามารถและกรุณาเสียสละเวลามาร่วมบรรยายในครั้งนี้

• จัดอบรมในวันเสาร์ที่ 12 กันยายน 2563

• เริ่มลงทะเบียนตั้งแต่เวลา 09.30 น
• ณ อาคารพีเอส ทาวเวอร์ ชั้น 25

ทั้งนี้ท่านสามารถลงทะเบียนเรียนฟรี! ได้โดยการสแกนคิวอาร์โค้ด หรือคลิกที่ลิงค์นี้ได้เลยค่ะ https://form.jotform.com/202301653048041
และสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ สุวรรณี 0939069384 หรือ โทร 02 6644360 ต่อ 1015

*** ทางมหาวิทยาลัยขอสงวนสิทธิ์การเข้าฟังบรรยาย กรณีที่เต็มค่ะ

ประเภทของสิว

ประเภทของสิว

ประเภทของสิว

ประเภทของสิว

เรื่องของ “สิว” เป็นอีกหนึ่งปัญหาผิวที่ค่อนข้างมีผลกระทบในวงกว้าง พบเจอได้ทั้งหญิงและชาย โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่น โดยจากสถิติของสถาบันโรคผิวหนังในประเทศไทยช่วงหลายปีที่ผ่านมานั้น ปัญหาสิวติด 1 ใน 5 อันดับแรก ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาเสมอๆ

 

ด้วยเหตุที่ “สิว” มีความรุนแรงและมีผลกระทบที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล การได้รู้จักและเข้าใจ “ประเภทของสิว” จะทำให้เราสามารถดูแลและจัดการกับปัญหาสิวที่กวนใจผิวเราได้ดีขึ้น เพื่อผิวพรรณที่สวยงามของเรา ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนนะคะว่า “สิวเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง”

สิวเกิดจากอะไร?

เจ้าสิว เม็ดจิ๋วๆ ที่ขึ้นตามใบหน้าและบางบริเวณของร่างกายเรานั้น เกิดจากการที่น้ำมัน (Sebum) สิ่งสกปรก เซลล์ผิวที่ตายแล้ว รวมทั้งแบคทีเรีย เกิดการสะสมและอุดตันในรูขุมขน จนเกิดเป็นจุดเล็กๆ นูนขึ้นมาเหนือผิวหนัง อาจเกิดการอักเสบ บวมแดง หรือเกิดเป็นหนอง เล็กน้อยจนถึงขนาดใหญ่ที่อาจสร้างความเจ็บปวดหรือทิ้งแผลเป็นไว้หลังจากอาการทุเลาลงไปแล้วได้

 

สำหรับปัจจัยที่ก่อให้เกิดสิวนั้น อาจเกิดได้จากทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอก เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งสาเหตุนี้เห็นได้ชัดในกลุ่มวัยรุ่นเป็นส่วนใหญ่ และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง หรือคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ ก็อาจมีสิวขึ้นได้มากกว่าช่วงปกติ ผลของความเครียดก็เช่นเดียวกัน เมื่อเราเครียดร่างกายจะมีการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดสิวและอาจทำให้การอักเสบเพิ่มขึ้นอีกด้วย

 

ส่วนปัจจัยภายนอกที่เป็นตัวการก่อสิว เช่น การรับประทานอาหารมัน หรือของทอดมากเกินไป การล้างหน้าไม่สะอาด หรือการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ไม่เข้ากับสภาพผิว ก็อาจทำให้เกิดปัญหาสิวตามมาได้   

สิวแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ

ได้แก่ สิวไม่อักเสบหรือสิวอุดตัน (Comedone) และสิวอักเสบ (Inflammatory acne)

ประเภทของสิว

1.สิวไม่อักเสบ (Comedone) เป็นสิวขนาดเล็กที่เกิดจากการอุดตันของคอมีโดน (Comedones) ในรูขุมขน โดย คอมีโดน (Comedones) เป็นการรวมกันของซีบัมที่หลั่งออกมามากเกินไป ร่วมกับเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ขนอ่อนที่ไม่สามารถงอกผ่านรูขุมขนออกมาได้ และ P.Acne ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ๆ ไม่มีอากาศ และชอบอาหารประเภทไขมัน ซึ่งเป็นต้นตอที่ก่อให้เกิดเป็นสิวนั่นเอง สำหรับสิวไม่อักเสบนั้น เราแบ่งออกเป็นประเภทย่อยๆ ได้เป็น 2 ประเภท คือ

  • Whiteheads : สิวหัวขาว หรือ Close comedones เกิดจากการรวมกันของซีบัมและเซลล์ผิวที่ตายแล้วที่สะสมอยู่ในรูขุมขน ปรากฏเป็นตุ่มหรือจุดสีขาว บนผิวบริเวณนั้นๆ
  • Blackheads : สิวหัวดำ หรือ Open comedone โดยสีดำที่หัวสิวนั้นไม่ได้เกิดจากสิ่งสกปรกหรือการติดเชื้อต่างๆ แต่เกิดจากสิวหัวขาวที่รูขุมขนบริเวณนั้นเปิดออก และสัมผัสกับอากาศจนเกิดการออกซิไดซ์ ทำให้สิวหัวขาวกลายเป็นสีดำนั่นเอง โดยทั่วไปมักพบบริเวณใบหน้า ลำคอ หน้าอกและหลัง

2. สิวอักเสบ (Inflammatory acne) เกิดจากการอุดตันของรูขุมขนและต่อมไขมันใต้ผิวหนังที่มีสิวอุดตันก่อตัวอยู่ หรือเกิดกระบวนการอักเสบขึ้นเอง สิวอักเสบแม้จะเป็นเพียงจุดเล็กๆ บนใบหน้า แต่กลับสร้างปัญหาในเรื่องของความมั่นใจ ก่อให้เกิดความเจ็บปวด และปัญหารอยสิวต่างๆ ตามมาได้ โดยสิวอักเสบมีด้วยกันหลายระดับ ดังนี้

  • Papules : สิวตุ่มนูน (แพพิว) มีลักษณะเป็นตุ่มสีแดงขนาดเล็กกว่า 0.5 เซนติเมตร เป็นสิวอักเสบระยะแรกที่พัฒนามาจากสิวอุดตัน สร้างความเจ็บปวดได้เล็กน้อย
  • Pustules : สิวตุ่มหนอง มีลักษณะเป็นตุ่มสีแดงที่มีหนองสีขาวอยู่บริเวณด้านบนหัวสิว อาจเกิดจากสิวบริเวณนั้นเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นๆ แทรกซ้อนเข้ามา โดยมีการอักเสบและสร้างความเจ็บปวดมากกว่าสิวชนิด Papules
  • Nodules : สิวอักเสบก้อนลึก เป็นตุ่มแดง ขนาดใหญ่กว่า 0.5 เซนติเมตร มีการอักเสบใต้ผิวหนัง เมื่อสัมผัสจะค่อนข้างเจ็บปวด มีสาเหตุเกิดจากการเป็นสิวชนิด Papules แล้วเกิดการบีบสิว จนทำให้แบคทีเรียและน้ำมันในตุ่มสิวแตกกระจายอยู่ใต้ผิวหนังทำให้เกิดการอักเสบมากยิ่งขึ้น
  • Cyst : สิวเป็นถุงขนาดใหญ่ใต้ผิวหนัง เป็นสิวอักเสบที่รุนแรงที่สุด มีขนาดใหญ่ ลักษณะเป็นถุงใต้ผิวหนัง ภายในมีหนองอักเสบ โดยทั่วไปมักเจ็บปวดและอาจต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ หลังจากสิวหายดีแล้วมักทิ้งเป็นรอยแผลจากสิวไว้ด้วย

นอกจากสิวทั้ง 2 ประเภทนี้แล้ว ยังมีสิวประเภทอื่นๆ ที่เราอาจพบได้อีกเช่นกัน อย่างสิวจากการติดสารสเตียรอยด์, สิวข้าวสาร ซึ่งเป็นสิวที่ยากต่อการรักษาและยังไม่พบสาเหตุในการเกิดที่แน่ชัด สำหรับบทความต่อไปเรามาทำความรู้จักกับรอยแผลเป็นจากสิวประเภทต่างๆ กันบ้างนะคะ เริ่มกันที่บทความ “หลุมสิว รอยแผลเป็นจากสิว”

หลุมสิว รอยแผลเป็นจากสิว

หลุมสิว รอยแผลเป็นจากสิว

หลุมสิว รอยแผลเป็นจากสิว

หลุมสิว รอยแผลเป็นจากสิว

เมื่อพูดถึง รอยแผลเป็นจากสิว (Acne Scar)  หลายๆ คนอาจนึกถึงรอยดำ รอยแดง หลุมสิว และผิวที่ขรุขระไม่เรียบเนียน แต่จริงๆ แล้ว “รอยแผลเป็นจากสิว” มักไม่ใช้เรียก “รอยแดงและรอยดำที่เกิดขึ้นหลังจากเกิดสิว” เนื่องจากรอยเหล่านี้มักจะจางหายไปเองแม้ไม่ได้รับการรักษา แต่เราสามารถใช้เรียก “หลุมสิว” และ “คีลอยด์” ได้ เพราะมีความรุนแรงมากกว่า รักษายากกว่า และอาจกลายเป็น “แผลเป็นถาวร” และในบทความนี้เราอยากให้ทุกคนรู้จักกับรอยแผลเป็นจากสิวในกลุ่มของ “หลุมสิว” มากยิ่งขึ้น เพื่อนำไปสู่การหาทางรักษาหลุมสิวได้อย่างเหมาะสม และตรงจุดที่สุดค่ะ

หลุมสิวคืออะไร?

หลุมสิว เป็นหนึ่งในประเภทของแผลเป็นจากสิว (Acne Scar) ซึ่งมีความร้ายแรงและรักษาได้ยากกว่ารอยดำมาก ยิ่งสิวมีการอักเสบรุนแรงมาก แผลเป็นหรือหลุมสิวที่เกิดขึ้นก็จะยิ่งมีขนาดและความลึกที่มากตามความรุนแรงของสิวเหล่านั้น เนื่องจากสิวที่มีระดับความรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมากสามารถทำลายไปถึงโครงสร้างของผิวชั้นลึก จึงเกิดแผลเป็นลักษณะหลุมซึ่งต้องใช้การรักษาพิเศษจากแพทย์ผิวหนัง

ประเภทของหลุมสิว แบ่งย่อยได้ 3 ประเภท

Icepick

เป็นหลุมสิวขนาดเล็ก ความกว้างน้อยกว่า 2 มิลลิเมตร  ขอบเขตที่ชัดเจน มีปลายแหลมที่ยื่นลึกไปถึงชั้นหนังแท้หรือชั้นไขมันใต้ผิวหนัง  

รอยแผลเป็นจากสิว

Rolling

เป็นหลุมสิวที่มีลักษณะเป็นแอ่งเว้าคล้ายก้นกะทะลึกลงไปถึงผิวชั้นหนังแท้ระดับตื้นๆ ด้านบนพื้นผิวมีขนาดกว้างประมาณ 4-5 มิลลิเมตร เป็นหลุมสิวที่รักษาได้ง่ายที่สุด

รอยแผลเป็นจากสิว

Box scar

เป็นหลุมสิวที่มีลักษณะคล้ายกล่อง มีขอบเขตที่ชัดเจน ขนาดประมาณ 3-4 มิลลิเมตร เกิดจากสิวอักเสบที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เป็นหลุมสิวระดับปานกลาง ตื่นกว่าหลุมสิวแบบ Icepick

รอยแผลเป็นจากสิว

วิธีรักษาหลุมสิว ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่

สำหรับในปัจจุบัน วงการแพทย์ด้านความงามได้มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีมากมายที่ช่วยฟื้นฟูผิวได้ถึงผิวชั้นลึก สามารถรักษาหลุมสิวทุกประเภท อย่างเช่น เทคโนโลยีคลื่นวิทยุรักษาหลุมสิว หรือ ที่ศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า “การทำ Fractional RF” ซึ่งเหมาะกับผู้ที่ไม่สามารถหยุดงานเพื่อพักผิวหน้าได้ เพราะการทำ Fractional RF เพื่อรักษาหลุมสิวจะมีแผลสะเก็ดที่ผิวหน้าขนาดเล็กมากๆ ทำให้ระยะการพักฟื้นสั้น อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาริ้วรอยได้อีกด้วย โดยรวมช่วยให้ผิวเนียนและกระชับขึ้น  อ่านบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับ “Venus Viva NanoFractional RF นวัตกรรมเพื่อการฟื้นฟูหลุมสิว” ได้ที่นี่

 

นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่น่าสนใจ สามารถช่วยฟื้นฟูผิวและรักษาหลุมสิวได้ดีมากๆ คือ การใช้เลเซอร์รักษาหลุมสิว วิธีนี้อาจเกิดแผลสะเก็ดบนใบหน้าบ้างเล็กน้อย และหายไปใน 5-7 วัน จุดเด่นของเลเซอร์คือ ให้ผลลัพธ์ที่เห็นได้ชัดเจน เหมาะกับผู้ที่มีหลุมสิวลึกมากๆ ผิวแลดูตื้นขึ้นได้ รูขุมขนเล็กลง โดยรวมแล้วผิวจะเนียนกระชับขึ้นกว่าเดิมมากอย่างเห็นได้ชัดค่ะ

สุดท้ายนี้หากการเกิดสิวเป็นสิ่งที่เราไม่อาจหลีกเลี่ยง แนวทางลดการเกิดปัญหาหลุมสิวที่จะตามมาคือ การป้องกันการอักเสบของสิวไม่ให้รุกลามรุนแรง และควรหลีกเลี่ยงการบีบหรือแกะสิว เนื่องจากพฤติกรรมเหล่านั้นอาจส่งผลเสียที่รุนแรงตามมาค่ะ

Reference

  • Acne Scars: Pathogenesis, Classification and Treatment. Gabriella Fabbrocini,* M. C. Annunziata,. 2010.
  • A Comprehensive Review of Acne Vulgaris. AK Mohiuddin1* Department of Pharmacy, World University of Bangladesh
  • Easy as PIE (Postinflammatory Erythema). Yoon-Soo, Cindy Bae-harboe, MD; Emmy M. Graber, MD ,Boston University, Department of Dermatology, Boston, Massachusetts
Juliet เลเซอร์ฟื้นฟูสุขภาพภายในสตรี

ช่องคลอดแห้ง ปัญหาใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม

ช่องคลอดแห้ง

ช่องคลอดแห้ง ปัญหาใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม

ช่องคลอดแห้ง (Vaginal Dryness) เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้กับสาวๆ ได้ไม่น้อย โดยเฉพาะสาวรุ่นใหญ่ วัย 40+ ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกไม่สบายทางกาย ไปจนถึงการได้รับผลกระทบด้านลบต่อชีวิตคู่ (Sexual Health) ซึ่งที่ผ่านมาปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้าง Sensitive และไม่ค่อยมีใครกล้าพูดถึงหรือกล้าเปิดเผยมากนัก แต่ในปัจจุบันนี้โลกและสังคมของเราได้มีความเปิดกว้างมากขึ้นในทุก ๆ ด้าน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีที่ผู้หญิงอย่างเราจะได้เปลี่ยนมุมมองใหม่ว่า “เรื่องจุดซ่อนเร้น ไม่ใช่เรื่องที่น่าอาย” แต่ควรศึกษาทำความเข้าใจเพื่อให้รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงและวิธีการรับมือเมื่อเกิดปัญหาได้ทันท่วงที เพื่อสุขภาพอนามัยที่ดีของจุดซ่อนเร้นของเรา

ปัญหาช่องคลอดแห้งเกิดจากอะไร?

โดยปกติแล้ว ภายในช่องคลอดจะมีสารหล่อลื่น ที่มีลักษณะเป็นเมือกใส เหนียวหนืด มีหน้าที่หลักในการช่วยลดการเสียดสี และเพื่อช่วยให้เซลล์อสุจิสามารถผสมกับเซลล์ไข่ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสารหล่อลื่นตามธรรมชาตินั้น ถูกผลิตขึ้นโดยต่อมผลิตสารคัดหลั่งที่อยู่ในชั้น  Mucosa ที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นตัวควบคุม แต่เมื่ออายุมากขึ้นหรือมีสิ่งเร้าภายนอกมารบกวน เช่น การทานยาบางชนิด การป่วยเป็นโรคบางประเภท (Sjogren’s Syndrome) ทำให้ร่างกายมีการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงหรือขาดไป ทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตสารคัดหลั่งเพื่อการหล่อลื่นได้อย่างเพียงพอ ส่งผลให้เยื่อบุช่องคลอดขาดความชุ่มชื้น จนเกิดเป็นภาวะช่องคลอดแห้ง (Vaginal Dryness) ขึ้น รวมทั้งการสวนล้างช่องคลอดบ่อยเกินไป ก็ส่งผลให้เกิดภาวะช่องคลอดแห้งได้เช่นกัน ผลที่ตามมาอาจทำให้เกิดอาการผิดปกติ ดังเช่น

  • มีอาการระคายเคือง แสบร้อน ภายในช่องคลอด
  • เจ็บระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ส่งผลให้ความต้องการทางเพศลดลง
  • ปัสสาวะบ่อย แสบขัด หรือมีอาการปัสสาวะเล็ดร่วมด้วย
  • เมื่อตรวจภายในมักพบว่าช่องคลอดมีลักษณะแห้งและซีด รวมถึงปากมดลูกอาจแบนไปกับช่องคลอด
  • อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้

ช่องคลอดแห้ง รักษาได้ไหม?

ระดับความรุนแรงของอาการช่องคลอดแห้งจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล ในหญิงบางคนอาการอาจดีขึ้นได้เอง บางคนมีอาการน้อย แต่ในบางคนก็มีอาการมากจนกระทบต่อชีวิตประจำวันรวมทั้งปัญหาด้านชีวิตคู่ได้ ซึ่งแนวทางการรักษาปัญหาช่องคลอดแห้งนี้ มีหลากหลายวิธีแตกต่างกันออกไป

  • การใช้ Hormone ทดแทน (Hormone Replacement Therapy: HRT) มักเป็นสารออกฤทธิ์ในการเริ่มระดับเอสโตรเจนให้ร่างกาย นอกจากรักษาอาการช่องคลอดแห้ง ยังช่วยรักษาอาการต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วยวัยหมดประจำเดือนได้ เช่น อารมณ์หงุดหงิด ร้อนวูบวาบ ต่างๆ และในการรักษาวิธีนี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
  • รักษาสุขอนามัยของจุดซ่อนเร้น หลีกเลี่ยงการสวนล้างช่องคลอดหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหอมหรือสารเคมีต่างๆ ซึ่งเป็นการทำลายสภาวะความสมดุลของช่องคลอดให้เสียไป
  • ใช้สารเพิ่มความชุ่มชื้นเฉพาะจุด อาจมาในรูปแบบของยาทาหรือยาเม็ดสอดในช่องคลอด ออกฤทธิ์โดยอาศัยการปล่อยเอสโตรเจนออกมา เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่บริเวณช่องคลอด
  • ทานอาหารที่มีประโยชน์และดื่มน้ำอย่างเพียงพอ เช่น เลือกทาน “โยเกิร์ต” บ้าง เพื่อช่วยเพิ่มแบคทีเรียที่จำเป็นซึ่งป้องกันการติดเชื้อราหรือแบคทีเรียต่างๆ ภายในช่องคลอด หรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ที่มีสารฟลาโวนอยด์ซึ่งมีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจน เพื่อเพิ่มสารหล่อลื่นตามธรรมชาติได้

สุดท้ายนี้ ปัญหาต่าง ๆ ของจุดซ่อนเร้น ไม่ใช่เรื่องที่น่าอาย แต่เป็นเรื่องที่เราควรทำความเข้าใจและกล้าเปิดใจยอมรับมากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาและป้องกันการเกิดปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับเราหรือคนสำคัญของเรา เช่น คุณแม่ หรือ คนรู้จักที่อยู่ในช่วงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการแพทย์สมัยใหม่ ที่ช่วยเพิ่มทางลัดในการฟื้นฟูจุดซ่อนเร้น ซึ่งมีเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้เลือกหลากหลาย เช่น การใช้คลื่นความถี่วิทยุ การใช้แสงเลเซอร์ ซึ่งทั้งสองเทคโนโลยีนี้ไม่เพียงแต่แก้ปัญหาช่องคลอดแห้งเท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยปรับสภาพผิว กระชับทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งยังแก้ปัญหาปัสสาวะเล็ดได้อีกด้วย

Reference

  • https://www.pobpad.com/ช่องคลอดแห้ง
  • https://www.samitivejhospitals.com/th/ช่องคลอดแห้ง/
ปัสสาวะเล็ด

รับมือภาวะปัสสาวะเล็ดอย่างไร? ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน

ปัสสาวะเล็ด

รับมือภาวะปัสสาวะเล็ดอย่างไร? ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน

ปัญหาอันดับต้นๆ ของผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน นอกจากการแปรปรวนของภาวะทางอารมณ์เเล้ว ยังมีอีก 1 ปัญหาที่สร้างความกังวลอย่างมาก นั่นคือ ภาวะปัสสาวะเล็ด Stress urinary incontinence (SUI) ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสภาวะจิตใจ โดยผู้หญิงอย่างเรามักเลือกที่จะเก็บปัญหาเหล่านี้ไว้ บางคนอายจนถึงหลีกเลี่ยงกิจกรรมทางสังคม ไม่ยอมออกนอกบ้าน และไม่กล้าขอคำปรึกษาหรือเข้าพบกับเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อป้องกันหรือทำการรักษาปัญหาเหล่านี้ จนก่อให้เกิดอาการลุกลามยากเกินรักษาให้หายได้

ปัสสาวะเล็ด

จากผลสำรวจของ บริษัท ยูนิ.ชาร์ม (ประเทศไทย) ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับผู้หญิง พบว่า กว่า 60% ของผู้หญิงเริ่มมีอาการปัสสาวะเล็ดครั้งแรกในช่วงอายุ 30-40 ปี และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นแปรผันตรงกับอายุ นอกจากนี้ปัญหาปัสสาวะเล็ดนั้นสามารถพบได้ในผู้หญิงกว่า 25% จากทั่วโลก พบในต่างประเทศ 6% และไทยประเทศไทยสูงถึง 20% ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้ทุกช่วงอายุ แต่พบมากในผู้หญิงหลังจากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน

 

หญิงไทยส่วนใหญ่ มักรู้สึกเขินอายต่อปัญหาที่เกี่ยวกับจุดซ่อนเร้น ซึ่งผลการสำรวจได้มีการกล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อพบปัญหาปัสสาวะเล็ดผู้หญิงไทยกว่า 62.2% เลือกแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการใช้แผ่นอนามัยสำหรับรองรับปัสสาวะ, 22.3% เลือกใช้สินค้าที่ออกแบบมาสำหรับผู้มีปัญหาปัสสาวะเล็ด และมีเพียง 4.7% เท่านั้นที่หาวิธีการรักษาอย่างตรงจุด

 

ปัญหาปัสสาวะเล็ด โดยมากเกิดจากกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานมีความหย่อนตัวลง หรือหูรูดท่อปัสสาวะหดรัดตัวได้ไม่ดี ทำให้มีอาการกลั้นปัสสาวะได้ไม่ดีในขณะที่ความดันในช่องท้องสูงมากขึ้น เช่น ขณะไอ หรือ จาม ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นอายุที่เพิ่มมากขึ้น ภาวะโรคต่างๆ ภาวะขาดฮอร์โมนเพศ การผ่าตัดที่อาจส่งผลกระทบ การใช้ยาบางชนิด รวมทั้งการคลอดบุตรด้วยวิธีธรรมชาติ

 

สำหรับการรักษาภาวะปัสสาวะเล็ดตามวิธีดั้งเดิมมีหลากหลายวิธี เช่น การใส่อุปกรณ์ช่วยพยุงในช่องคลอด (Vaginal Pessary), การฝึกขมิบกล้ามเนื้อกระดูกเชิงกราน (Kegel Exercise), ไปจนถึงการผ่าตัด ซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาพักฟื้น หรือใช้เวลารักษาที่ยาวนาน ซึ่งเหมาะกับการรักษาภาวะปัสสาวะเล็ดในระยะที่เริ่มยากต่อการรักษา

ปัสสาวะเล็ด

เเต่ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์ เพื่อการรักษาปัญหาปัสสาวะเล็ดในระยะเริ่มต้น เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจลุกลามได้ ดั่งนวัตกรรม Juliet – the feminine laser treatment ด้วยเทคโนโลยี Erbium:YAG laser Class 4 จากประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นเลเซอร์ที่จำเพาะเจาะจงต่อการดูดซับน้ำที่เนื้อเยื่อ ซึ่งให้ผลในการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน เพื่อคืนความยืดหยุ่นและเพิ่มความชุ่มชื้น ช่วยให้เยื่อบุผิวช่องคลอดมีความหนา และนุ่มมากยิ่งขึ้น รวมทั้งยังสามารถปรับสภาพผิวบริเวณภายนอกช่องคลอด และเพิ่มความกระชับได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ลดอาการปัสสาวะเล็ด
  • เพิ่มความกระชับ
  • ลดปัญหาช่องคลอดแห้งระคายเคือง
  • คืนความชุ่มชื่นให้ช่องคลอด
  • ช่วยฟื้นฟูทั้งภายในช่องคลอดและผิวภายนอก

Juliet เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์ในการแก้ปัญหาที่สร้างความกังวลใจของคุณผู้หญิงได้หลังทำการรักษาเพียงครั้งเดียว ใช้เวลารักษาสั้นเพียง 30 นาที อีกทั้งตัวแอปพลิเคเตอร์ Steri Spot เป็นแบบ Single-use เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการใช้ซ้ำ ทำให้มั่นใจได้ถึงความสะอาดและปลอดภัย ซึ่งผ่านการรักษาในหญิงสาวทั่วโลกมาเเล้วกว่า 5 ล้านคน ให้ผลการรักษาที่ยาวนาน ทั้งได้รับมาตรฐานความปลอดภัยจาก THAI & USFDA

Reference

  1. https://th.lifree.com/th/nyoumore/experience/data.html
เลเซอร์ นวัตกรรมแห่งแสงที่เหนือกาลเวลา

เลเซอร์ นวัตกรรมแห่งแสงที่เหนือกาลเวลา

เลเซอร์ นวัตกรรมแห่งแสงที่เหนือกาลเวลา

เลเซอร์ นวัตกรรมแห่งแสงที่เหนือกาลเวลา

“เลเซอร์” เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความล้ำสมัยของเทคโนโลยี ซึ่งอยู่รอบตัวเราในทุกๆ ภาคส่วน ไม่ว่าจะด้านการแพทย์ การศึกษา ผนวกรวมไปถึงด้านความบันเทิงซึ่งแฝงอยู่ในรูปแบบหนังสือนวนิยายและภาพยนต์ Action Si-Fi ซึ่งคำว่า “เลเซอร์” (LASER) ย่อมาจาก Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation โดยอาศัยหลักการกระตุ้นอิเล็กตรอนให้เกิดการแผ่รังสี (Stimulated Emission) จนเกิดการขยายสัญญาณของแสงซ้ำไปมา (Light Amplification) กระทั่งเกิดเป็นลำแสงเลเซอร์ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่เรียกว่า “โคฮีเร้นท์” (Coherent) คือ เป็นแสงสีเดียวมีความยาวคลื่นค่าเดียว มีเฟสเดียว มีความเข้มสูง และมีทิศทางที่แน่นอน

 

เลเซอร์ มีความพิเศษมากกว่าที่เราคาดคิด โดยมีต้นแบบมาจากทฤษฎีที่ค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่อย่าง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ และผ่านการศึกษาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยผู้คิดค้นเลเซอร์ได้คนแรกเป็นนักฟิสิกส์ชาวอเมริกันชื่อ ซี. เอช.ทาวน์ส (Charles Hard Townes) ซึ่งการคิดค้นนี้ทำให้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1964 ต่อมาในปี ค.ศ.1960 Theodore H. Maiman ได้พิสูจน์ทฤษฎีของ C.H. Townes และประดิษฐ์อุปกรณ์ Laser เครื่องแรกของโลกขึ้น โดยทำจาก Ruby ซึ่งถือเป็นการเปิดโลกแห่งวงการเลเซอร์ จากนั้นได้มีการพัฒนาต่อเนื่องจนเกิดเป็นนวัตกรรมแห่งแสงที่มีประโยชน์อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

laser typically consists of the energy source (pump), the lasing medium, and the optical cavity with a partially transparent front mirror.

Cr. Picture: https://entokey.com/retinal-laser-therapy-biophysical-basis-and-applications-2/

“ต้องมีคุณสมบัติประกอบกัน 4 ชนิด จึงจะสามารถนิยามให้เป็นเลเซอร์ได้”

  1. ตัวกลางในการผลิตแสง (Lasing medium) ซึ่งแบ่งย่อยได้อีก 4 ชนิดตามสถานะของตัวกลาง ได้แก่ ของแข็ง ของเหลว ก๊าซ และสารกึ่งตัวนำ
  2. แหล่งกำเนิดพลังงานจากภายนอก (Puming System) ทำหน้าที่ในการกระตุ้นให้ตัวกลางเกิดการผลิตแสงเลเซอร์ออกมาก ซึ่งได้แก่ Flash lamp หรือ กระแสไฟฟ้าต่างๆ
  3. ออปติคัล คาร์วิตี (optical cavity) ประกอบไปด้วยกระจก 2 แผ่น วางหันหน้าเข้าหากัน บริเวณตรงกลางจะบรรจุ Lasing medium ไว้ ซึ่งเป็นบริเวณที่ทำให้เกิดลำแสงที่ถูกกระตุ้นซ้ำไปซ้ำมา จนได้แสงเลเซอร์ออกมาในที่สุด
  4. แขนส่งพลังงาน (Delivery System) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับส่งพลังงานเลเซอร์ออกมาภายนอก

 

ประเภทของเลเซอร์

การจำแนกกลุ่มของเลเซอร์ สามารถแยกได้จากหลากหลายปัจจัย เช่น ตามตัวกลาง การประยุกต์ใช้ หรือตามระดับพลังงานที่ปล่อยออกมา ซึ่งสำหรับบทความนี้จะกล่าวถึงการจำแนกตามตัวกลางที่ใช้ในการผลิตเลเซอร์

 

หากแบ่งเลเซอร์ตามสถานะของตัวกลางที่เป็นแหล่งกำเนิด (Lasing medium) เราสามารถแบ่งได้ 4 ประเภท

  • ของแข็ง (Solid State) : ได้แก่ ผลึกแร่หรือแท่งแก้ว จากอัญมณีบางชนิด เช่น Ruby (เลเซอร์ชนิดแรกของโลก), Alexandrite, ผลึก YAG (Yttrium-Aluminum-Garnet) และแท่งแก้ว (Glass) โดยตัวกลางเหล่านี้ทำหน้าที่เป็น Host Materials ซึ่งมักมีสารเจือชนิดอื่นที่ใช้เติมบนตัวกลางนี้ซึ่งทำให้เกิดแสงที่ต่างกันออกไป
undoped-YAG-Crystal

Cr. YAG Picture:  https://www.astarphotonics.com/product-detail/yag

ruby

Cr. Ruby Picture: http://www.lindasearcydesigns.com/faceted-gemstones/synthetic-laser-gem-alex17-ruby-red

  • ของเหลว (Dye Laser) : ตัวกลางประเภทนี้ อาจใช้เป็นสีย้อม (Dye) ซึ่งเป็นสารเคมีอินทรีย์ที่มีความซับซ้อน ผสมน้ำ หรือแอลกฮอล์ โดยจุดเด่นของเลเซอร์ประเภทนี้ คือ เป็นเลเซอร์ที่ให้สีในช่วงที่ตามองเห็นได้ เช่น Rhodamine 6 G ให้แสงสีเหลืองไปถึงส้ม (570-610 nm), Rhodamine B ให้แสงช่วงสีแดง (605-635 nm) และ Dichloro fluore scein) ให้แสงเลเซอร์สีเขียว (530-560 nm)
  • ก๊าซ (Gas) : เป็นเลเซอร์ที่ใช้ตัวกลางในสถานะก๊าซ เช่น CO2 Laser , He-Ne Laser และ Argon Laser เป็นต้น
  • สารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) : มักพบเป็นเลเซอร์ชนิดไดโอด (Diode Laser) สร้างจากสารกึ่งตัวนําชนิดพิเศษที่ถูกนํามาใช้ในการควบคุมทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้าผ่านทางรอยต่อระหว่างสารกึ่งตัวนํา สองชนิ ด คือ ชนิด p และ n  โดยเรียกรอยต่อนี้ว่า p–n junction มักทำจากสารประกอบ เช่น แกลเลียมอาร์เซไนด์ (GaAs) แกลเลียมอะลูมิเนียมอาร์เซไนด์ (GaAlAs) แกลเลียมอาร์เซไนด์ฟอสฟายด์ (GaAsP) โดยให้ค่าพลังงานที่ต่างกัน ซึ่งเป็นตัวกำหนดค่าความยาวคลื่นของเลเซอร์

อีกหนึ่งคำที่คนมักพูดถึงอย่างแพร่หลายในวงการความงาม คือ เลเซอร์ IPL ซึ่งความจริงแล้วเป็นความเข้าใจที่ผิด เนื่องจาก IPL เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยี ซึ่งไม่ใช่เลเซอร์ โดย IPL ย่อมาจาก Intense Pulsed Light เป็นอุปกรณ์ที่ให้แสงความเข้มข้นสูงอีกประเภทหนึ่งโดยปล่อยแสงที่มีความยาวคลื่นเป็นช่วงกว้าง (400-1,200 nm) ออกมาพร้อมๆ กันซึ่งการทำงานของ IPL นั้นมีความแตกต่างจาก Laser รวมถึงความเข้มของแสงที่ออกมาก็มีความแตกต่างกัน

 

สำหรับบทความต่อไป จะกล่าวถึงความจำเพาะเจาะจง และการทำงานของเลเซอร์ ที่มีบทบาทต่อวงการแพทย์ผิวหนังด้านความงามค่ะ

ไขมันในร่างกาย

รู้จักกับไขมันในร่างกาย

ไขมันในร่างกาย

รู้จักกับไขมันในร่างกาย

ไขมัน…คำสั้นๆ ที่สร้างความกังวลใจให้กับหลายๆ คน เพราะคนส่วนใหญ่มักนึกถึงความอ้วน เซลลูไลท์ และโรคภัยไข้เจ็บที่ตามมา แต่จริงๆ แล้ว เจ้าก้อนกลมๆ สีเหลืองขนาดเล็กนั้น มีความมหัศจรรย์ และมีประโยชน์มากมายต่อร่างกายของเรา ทั้งเป็นแหล่งสะสมพลังงาน สร้างความอบอุ่น เป็นหมอนรองรับแรงกระแทก เป็นแหล่งของกรดไขมันจำเป็นที่สำคัญต่อการสร้างฮอร์โมนและสารประกอบสำคัญในร่างกายเพื่อส่งเสริมการทำงานของเซลล์ให้เป็นไปอย่างปกติ ช่วยดูดซึมวิตามิน A, D, E และ K เข้าสู่ร่างกาย และยังช่วยให้ร่างกายดูอ่อนเยาว์อีกด้วย

 

ความพิเศษของเซลล์ไขมัน คือ เกิดแล้วไม่มีวันตาย และสามารถขยายตัวเองได้อย่างไม่จำกัดถึงกว่า 1000 เท่า เปรียบเทียบง่ายๆ เหมือนกระเป๋าสะพายของคุณผู้หญิง ที่ถึงภายนอกจะเห็นว่ามีขนาดเล็กพกพาสะดวก แต่กลับจุสิ่งของได้มากมายเกินคาด และเมื่อร่างกายมีพลังงานสะสมมากเกินกว่าที่เซลล์ไขมันสามารถรับไหว ร่างกายจะผลิตเซลล์ไขมันเพิ่มขึ้นมาใหม่ได้อย่างไม่จำกัด เพื่อรองรับพลังงานสำรองเหล่านั้น ซึ่งการสะสมของไขมันในแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน ตามเพศ การใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้เรามีรูปร่างที่แตกต่างกันออกไป และบางครั้งไขมันส่วนเกินเหล่านั้นอาจไปสะสมตามอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายเช่น บริเวณ หัวใจ ตับ ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้

 

สำหรับไขมันในร่างกาย (Body Fat) หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อของ เนื้อเยื่อไขมัน (Adipose Tissue) นั้นเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่งที่พบได้ทั่วไปในร่างกาย เจ้าเนื้อเยื่อไขมัน จะประกอบไปด้วยเซลล์ไขมัน (Adipocyte) ซึ่งเป็นเหมือนบัญชีเงินฝากพลังงานเพื่อสำรองไว้ใช้ในยามจำเป็น ซึ่งเจ้าก้อนเล็กๆ นี้เป็นแหล่งพลังงานที่ดีของร่างกาย ไขมันจากอาหารที่เราทานเข้าไปปริมาณ 1 กรัม สามารถให้พลังงานได้มากถึง 9 กิโลแคลอรี่ ในขณะที่โปรตีนและคาร์โบไฮเดรต 1 กรัม จะให้พลังงานเพียง 4 กิโลแคลอรี่

ไขมันในร่างกาย

เนื้อเยื่อไขมันในร่างกายที่เราอาจไม่เคยรู้ แบ่งเป็น 2 ประเภท

  • ไขมันสีขาว (White adipose tissue ; WAT) เป็นแหล่งสะสมพลังงานไว้ในร่างกาย เพื่อใช้ยามจำเป็น แต่การสะสมมากเกินไปจะทำให้เรามีร่างกายที่สมบูรณ์ เจ้าเนื้อ หรือมีห่วงยางบริเวณรอบเอวได้ หลายๆคน จึงพยายามจะกำจัดออกจากร่างกาย ไขมันสีขาว ประกอบไปด้วย ไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglycerides) ประมาณ 90% ส่วนประกอบที่เหลือเป็นน้ำ และระบบผลิตเอนไซม์ต่างๆ มีประโยชน์ในการช่วยผลิตฮอร์โมนอะดิโปเนกติน (Adiponectin) ที่ช่วยให้ร่างกายไวต่ออินซูลิน ซึ่งทำให้ลดโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานและหัวใจ พบประมาณ 20% และ 25% ของน้ำหนักตัวของเพศชายและหญิงตามลำดับ
  • ไขมันสีน้ำตาล (Brown adipose tissue ; BAT) ไขมันชนิดนี้พบมากในช่วงวัยเด็ก และลดลงตามอายุที่มากขึ้น ในเซลล์ไขมันชนิดนี้มีไมโทคอนเดรียเป็นจำนวนมาก และการมีสีน้ำตาลนั้นเมาจากการมีธาตุเหล็กสะสมอยู่ มีบทบาทในการสลายพลังงาน (energy catabolism) รวมทั้งเผาผลาญไขมันสีขาว เพื่อเปลี่ยนเป็นความร้อนมาใช้ในการรักษาสมดุลของอุณหภูมิในร่างกาย
ไขมันในหลอดเลือด

การสะสมของไขมันในร่างกาย พบได้ในหลายบริเวณ

  1. ไขมันในหลอดเลือด ที่เรารู้จักกันในชื่อของไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอล ซึ่งตัวคอเลสเตอรอล จะแบ่งได้อีก 2 ชนิด คือ HDL เป็นคอเลสเตอรอลชนิดดี และ LDL เป็นคอเลสเตอรอลชนิดเลว ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดไขมันอุดตันเส้นเลือด
  2. ไขมันในช่องท้อง หรือ Visceral Fat เป็นไขมันส่วนที่อันตรายที่สุด แต่ไม่ค่อยมีคนรู้จัก ไขมันชนิดนี้มักเกาะตามอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ทำให้รอบเอวหนา หน้าท้องป่องยื่น คนที่มีไขมันช่องท้องปริมาณมาก มีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาสุขภาพตามมาได้ง่ายกว่าคนปกติถึง 3 เท่า สำหรับการกำจัดไขมันประเภทนี้ ไม่สามารถใช้ทางลัดหรือเทคโนโลยีทางด้านความงาม รวมทั้งการดูดไขมัน (Liposuction) ได้ ต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต ทั้งการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย
  3. ไขมันใต้ชั้นผิวหนัง หรือ Subcutaneous Fat โดยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของไขมันทั้งหมดในร่างกายจะเกิดการสะสมในชั้นนี้ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณแขน ต้นขา หน้าท้อง ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่อาจเกิดเป็นรอยแตกลาย หรือเซลลูไลท์ ซึ่งสร้างความกังวลใจให้หลายๆ คนได้
  4. ไขมันดื้อ หรือ Stubborn Fat เป็นไขมันใต้ผิวหนังประเภทหนึ่ง มักพบตามหน้าท้องช่วงล่าง สะโพก ขา รวมถึงบริเวณเหนียงใต้คาง เหตุผลที่ถูกเรียกว่า “ไขมันดื้อ” เพราะกำจัดออกยากมากแต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ ซึ่งปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีความงามที่พัฒนามาเพื่อช่วยแก้ปัญหาไขมันประเภทนี้โดยเฉพาะ

รู้ได้อย่างไร ... ว่าเราอ้วนเกินไปหรือเปล่า?

1. การวัดความอ้วนหรือผอมอาจมีด้วยกันหลายวิธี เริ่มกันด้วยวิธีที่ง่ายที่สุด ซึ่งก็คือการเปรียบเทียบความสูงกับน้ำหนักตัวโดยเฉลี่ย

  • ผู้ชาย :  น้ำหนักตัวที่เหมาะสม = ความสูง (เซนติเมตร) ลบด้วย 100
  • ผู้หญิง :  น้ำหนักตัวที่เหมาะสม = ความสูง (เซนติเมตร) ลบด้วย 110

2. วัดจากการหาค่าดัชนีมวลกาย* (Body Mass Index : BMI) ซึ่งเป็นค่าสากลที่นิยมใช้ทั่วไป มีสูตรคำนวณดังนี้

  • BMI  = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร)2

*ค่านี้อาจคลาดเคลื่อนได้ โดยเฉพาะผู้ที่เล่นกล้าม ที่จะมีน้ำหนักกล้ามเนื้อค่อนข้างมาก ทำให้ค่า BMI สูงได้โดยที่แทบไม่มีไขมันในร่างกายเลย

3. วัดจากเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย (Body fat) มีหลากหลายวิธี ตัวอย่างที่ง่ายคือ การคำนวณด้วยสมการ

  • % ปริมาณไขมันในร่างกายสำหรับผู้ชาย = (1.2 x ดัชนีมวลกาย) + (0.23 x อายุเป็นปี) – 16.2
  • % ปริมาณไขมันในร่างกายสำหรับผู้หญิง = (1.2 x ดัชนีมวลกาย) + (0.23 x อายุเป็นปี) – 5.4

โดยค่ามาตรฐานในผู้ชาย จะมีปริมาณ Body fat 15-20% และในผู้หญิง จะมีปริมาณ Body fat 25–30% หากพบว่ามีเปอร์เซ็นต์ที่สูงเกินกว่านี้ จะจัดว่าอ้วน อาจเปรียบเทียบจากรูปภาพได้ดังนี้

การหาค่าดัชนีมวลกาย* (Body Mass Index : BMI)
การหาค่าดัชนีมวลกาย* (Body Mass Index : BMI)
การหาค่าดัชนีมวลกาย* (Body Mass Index : BMI)

เรื่องของไขมันเป็นสิ่งใกล้ตัวคู่ความสวยและสุขภาพของเรา การได้ทำความรู้จักเบื้องต้นเกี่ยวกับไขมัน จะทำให้เราเข้าใจถึงองค์ประกอบของมัน ทำให้การดูแลตัวเองง่ายขึ้น หากใครที่มีปัญหาไขมันส่วนเกินอยู่ จะช่วยให้ง่ายต่อการศึกษาหาวิธีในการกำจัดไขมันและดูแลรูปร่างให้กลับมาสวยงามได้อย่างตรงจุดยิ่งขึ้น

picosure เครื่องแท้ vs เครื่องปลอม

PicoSure เครื่องแท้ หรือ แค่หลอก

PicoSure เครื่องแท้ หรือ แค่หลอก

PicoSure เป็น Laser Technology ใหม่ ที่ได้รับ FDA ในเรื่องของการรักษาเม็ดสี ด้วยคุณสมบัติที่น่าทึ่งสามารถแก้ปัญหาผิวได้อย่างครอบคลุม ทำให้มีราคาเครื่องสูง และค่าบริการรักษาผิวก็สูงตามต้นทุนไปด้วย ในปัจจุบันนี้มีจำนวนเครื่อง PicoSure ที่ติดตั้งแล้วกว่า 50 เครื่องทั่วประเทศไทย และเพื่อเป็นการปกป้องผู้บริโภคจากครื่อง PicoSure ปลอม ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ ท่านสามารถตรวจสอบเครื่องแท้ในเบื้องต้น ด้วย 3 วิธีการดังนี้

• สังเกตุลักษณะภายนอกของเครื่อง PicoSure
• เทียบค่าบริการรักษา

• ค้นหารายชื่อคลินิกที่มีเครื่อง PicoSure แท้ได้ที่เว็บไซต์ Aesla

ลักษณะภายนอกของเครื่อง PicoSure แท้

เพื่อให้มั่นใจว่าท่านจะได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพ สามารถสังเกตุลักษณะของเครื่อง PicoSure แท้  5 จุด

 

ดังตัวอย่างรูปเครื่องแท้ด้านล่างนี้

❶ สัญลักษณ์ด้านหน้า

 

❷ มือจับสำหรับเคลื่อนย้าย

 

❸ สัญลักษณ์ด้านข้างตัวเครื่อง

picosure เครื่องแท้ VS เครื่องปลอม

❹ แขนส่งพลังงาน

 

❺ เลนส์สำหรับปล่อยพลังงาน

❶ สัญลักษณ์ด้านหน้า เป็นโลโก้ CYNOSURE

สัญลักษณ์ด้านหน้า

❷ มือจับสำหรับเคลื่อนย้ายเครื่อง PicoSure จะมีลักษณะโค้งลงด้านล่าง

มือจับตัวเครื่อง PicoSure จะมีลักษณะโค้งลงด้านล่าง

❸ สัญลักษณ์ด้านข้างตัวเครื่อง มี 2 จุด

  – จุดแรก บนแถบเงินมีสัญลักษณ์ PicoSure

วิธีดู picosure แท้

  – จุดที่สอง บนตัวเครื่องบริเวณสีดำ มีสัญลักษณ์ CYNOSURE

วิธีดู picosure แท้

❹ แขนส่งพลังงานเครื่อง PicoSure แท้จะมีแขนส่งพลังงานสีเงินเท่านั้น

แขนส่งพลังงาน-เครื่อง-PicoSure

❺ ลักษณะของเลนส์สำหรับปล่อยพลังงานเครื่อง PicoSure แท้ 

เลนส์สำหรับปล่อยพลังงาน-2
เลนส์สำหรับปล่อยพลังงาน
เลนส์สำหรับปล่อยพลังงาน-3

เทียบค่าบริการรักษา

สำหรับค่าบริการรักษาผิวด้วยเครื่อง PicoSure เครื่องแท้ ที่นำเข้าโดย บริษัท เทคนิคอลไบโอเมด จำกัด จะมีเรทราคาดังนี้

• ราคาต่ำสุด ประมาณ 5,000 บาท / ครั้ง
• ราคาสูงสุด ประมาณ 35,000 บาท / ครั้ง

  และมีราคาเฉลี่ย ประมาณ 9,000 บาท / ครั้ง

ค้นหารายชื่อคลินิกที่มีเครื่อง PicoSure แท้

อีกหนึ่งวิธีที่แสนง่าย ท่านสามารถค้นหารายชื่อคลินิกที่มีเครื่อง PicoSure แท้ได้ที่เว็บไซต์ Aesla หรือคลิกที่ลิงค์นี้เพื่อเริ่มค้นหาได้เลย

Nearby Clinic