Open on Mon – Fri 09:00-18:00

Nano fractional RF รักษารอยแตกลาย

ประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้ Nanofractional Radio Frequency เพื่อการรักษารอยแตกลาย

Paper Venus Viva

ประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้ Nanofractional Radio Frequency เพื่อการรักษารอยแตกลาย

Striae distensae (SD) หรือผิวแตกลาย เป็นกลุ่มอาการทางผิวหนัง ที่มักเกิดจากการที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว การตั้งครรภ์ หรือการมีฮอร์โมนคอร์ติโคสเตรียรอยด์ที่สูง ผิวแตกลายสามารถแบ่งได้ 2 ระดับ คือ Striae rubra และ Striae alba โดยวิธีการรักษารอยแตกลายมีหลากหลาย เช่น การใช้เรตินอยด์ การใช้สารเคมีในการลอกผิว หรือการทำ Microdermabrasion แต่ล้วนให้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าพึงพอใจเท่าที่ควร มีงานวิจัยบางงาน ใช้เทคโนโลยี Fractional laser photothermolysis รักษาปัญหาผิวแตกลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่มักก่อให้เกิด Hyperpigmentation ในผู้ป่วยที่มีสีผิวเข้ม

ดังนั้นในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยี fractional radiofrequency มาใช้เพื่อการรักษาผิว ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ดีพร้อมกับข้อจำกัดต่างๆ ที่ลดลง โดยได้รับการรับรองจาก US.FDA ด้านการฟื้นฟูผิว ยิ่งกว่านั้นเทคโนโลยีนี้ยังมีความแตกต่างจากการใช้เลเซอร์ เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้ความสามารถในการจับกับโครโมฟอร์ จึงทำให้สามารถตอบโจทย์ในการรักษาได้ทุกสีผิว

เทคโนโลยีล่าสุดที่ได้พัฒนาเพื่อการฟื้นฟูผิวรูปแบบใหม่นี้ เรียกว่า Nanofractional radiofrequency (RF) มีการใช้เข็มขนาดเล็ก ทำหน้าที่ในการส่งพลังงาน RF ลงสู่ผิวหนังโดยตรงเพื่อให้เนื้อเยื่อผิวเกิดเป็นแผลขนาดเล็กสลับกับผิวที่ดี (Fractionation Technique) และด้วยพินที่มีขนาดเล็ก ทำให้อุปกรณ์นี้สามารถลดผลข้างเคียงต่างๆ พร้อมการฟื้นฟูผิวได้เร็วกว่าเทคโนโลยีอื่นๆ ซึ่งมีงานวิจัยทางคลินิกจำนวนมากที่รับรองผลของการรักษา ในด้านต่างๆ เช่น รอยแผลเป็นจากสิว ริ้วรอย รวมถึงผิวที่เรียบเนียนขึ้น

งานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ Nanofractional radiofrequency สำหรับการรักษาผิวแตกลาย โดยทำการทดลองกับอาสาสมัคร 33 คน ที่มีอายุระหว่าง 18-60 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผิวหนังว่าเป็นผู้มีปัญหาผิวแตกลาย โดยแบ่งอาสาสมัครเป็นกลุ่มละ 11 คน ที่มีรอยโรคอยู่ที่บริเวณต้นขา, หน้าท้อง หรือ ก้น โดยทำการรักษาด้วยเทคโนโลยี Nanofractional RF (Venus Viva™) จำนวน 3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 4 สัปดาห์

เก็บผลลัพธ์ โดยการถ่ายภาพ Before / After ด้วยกล้องดิจิตอลความละเอียดสูง (Olympus XZ10) จำนวน 4 ครั้ง ในช่วงก่อนการรักษา, สัปดาห์ที่ 4, 8 และ 12 หลังการรักษา นอกจากนี้มีการประเมินผลลัพธ์ทางคลินิกด้วย total lesional surface area โดยใช้ Pictzar™ software และมีการวัดขนาด ความกว้างของรอยแตกลายด้วย Capiler measurement

ร่วมกับการบันทึกความพึงพอใจของอาสาสมัคร สำหรับการเปลี่ยนแปลงของรอยโรค ในเรื่องของ Texture ผิว, ขนาด และการเปลี่ยนแปลงโดยรวม ด้วยเกณฑ์คะแนน 5 ระดับ ดังนี้ 1 = ไม่พอใจอย่างยิ่ง 2 = ไม่พอใจ 3 = ค่อนข้างพอใจ 4 = พึงพอใจ 5 = พอใจอย่างยิ่ง สำหรับการประเมินความพึงพอใจของแพทย์ผู้ทำการรักษา โดยการเปรียบเทียบภาพก่อนและหลังการทำทรีทเมนต์ จากแพทย์ผิวหนัง 2 ท่าน โดยใช้ clinical quartile rating scale ดังนี้ : 0 = ผลลัพธ์ดีขึ้น 0-25% , 1 = ผลลัพธ์ดีขึ้น 26-50% , 2 = ผลลัพธ์ดีขึ้น 51-75% และ 3 = ผลลัพธ์ดีขึ้น 75% ขึ้นไป

ซึ่งจากผลลัพธ์ที่ได้หลังการรักษาครั้งสุดท้าย 4 สัปดาห์ พื้นที่ผิวทั้งหมด ทั้งความกว้างและขนาดของผิวแตกลายมีความลดลงจาก baseline อย่างมีนัยสำคัญ (P <0.001) มีการรายงานพบการเกิด Post inflammatory hyperpigmentation (PIH) ในอาสาสมัคร 6 ราย และจากการศึกษาด้านจุลพยาธิวิทยา พบว่าเส้นใยคอลลาเจนและอีลาสตินมีความหนาแน่นมากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญ (P = 0.005 และ 0.012 ตามลำดับ) และอาสาสมัครมีความพึงพอใจในผลการรักษาอยู่ในระดับ 4 และ 5

 

ดังนั้นจากผลการศึกษาวิจัยฉบับนี้สรุปได้ว่า Nanofractional RF  สามารถรักษารอยแตกลาย Striae alba ได้อย่างปลอดภัยและให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูง

Reference :

Napatthaorn P, Thep C, Suwirakorn O et al. An efficacy and safety of nanofractional radiofrequency for the treatment of striae alba, J Cosmetic Derm 2016; 0: 1-7