Open on Mon – Fri 09:00-18:00

งานวิจัย Picosure

การรักษาฝ้าเรื้อรัง (Refractory Melasma) ในคนเอเชียด้วย Picosecond Alexandrite Laser

Niwat Polnikorn, MD , Emil Tanghetti, MD

การรักษาฝ้านั้น เป็นเรื่องที่สร้างความหงุดหงิดใจต่อทั้งผู้ป่วยและผู้ทำการรักษา ซึ่งวิธีการหลักที่ใช้อย่างกว้างขวางทั่วโลกคือ การรักษาด้วย Hydroquinone แต่เมื่อมีการใช้ในระยะยาวหรือความเข้มข้นสูงอาจส่งผลให้เกิดการระคายเคืองได้ หรืออาจเกิด Paradoxical hyperpigmentation ได้ในบางกรณี สำหรับทางเลือกในการรักษาด้านอื่นๆ เช่น การใช้ chemical peeling หรือเครื่องมือแพทย์ชนิด fractional ablative อื่นๆ อาจให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นเพียงชั่วครั้งชั่วคราว แต่มีความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงได้สูง อีกทั้งในหลายครั้งก็อาจทำให้ฝ้าเหล่านั้นกลับมาเกิดใหม่ได้อีก

 

สำหรับจุดมุ่งหมายของงานวิจัยฉบับนี้เน้นเพื่อการศึกษาความแตกต่างของการรักษาฝ้าเรื้อรังด้วย Picosecond Alexandrite laser (PicoSure) โดยการใช้ diffractive lens array (Focus lens array) เทียบกับ การใช้ Flat optic lens ในกลุ่มผู้หญิงชาวเอเชียที่มีฝ้าเรื้อรัง จำนวน 60 คนที่มี Fitzpatrick Skin Type  IV-VI ซึ่งผู้ร่วมวิจัยทุกคนจะต้องหยุดการรักษาฝ้าด้วยวิธีการเดิมก่อนอย่างน้อยเป็นเวลา 1 เดือน โดยการวิจัยนี้จะแบ่งผู้ร่วมวิจัย เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก ประกอบด้วยผู้ร่วมวิจัย 19 คน ทำการรักษาฝ้าด้วย Flat optic lens กลุ่มที่สอง ประกอบด้วย ผู้ร่วมวิจัย 41 คน ทำการรักษาฝ้าด้วย Diffractive lens array 

 

โดยทั้งสองกลุ่มจะทำการรักษาทุกๆ 2 สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 3 เดือน (รวมทั้งหมด 6 ครั้ง) ร่วมกับการใช้ครีมกันแดด SPF50 PA++++ และป้องกันการเกิด Hyperpigmentation ด้วย 4% Alpha Arbutin และ 15% Ascorbyl phosphate palmitate sodium มีการติดตามและวิเคราะห์ผลเป็นเวลา 6 เดือน โดยบันทึกผลด้วยการถ่ายภาพจากกล้องดิจิตอล ความละเอียด 20 MegaPixels และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของค่า Melasma Severity Index (MSI) ทั้งก่อนการรักษา , หลังการรักษา 3 เดือน และหลังการรักษา 6 เดือน โดยผลลัพธ์จากการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ได้รับการรักษาฝ้าเรื้อรังด้วย Diffractive lens array (Focus lens) มีค่า MSI ที่ดีกว่าอีกกลุ่มหนึ่งถึง 18.5% ดังต่อไปนี้

 

  • กลุ่มแรก ทำการรักษาด้วย Flat optic lens มีค่า MSI ที่ดีขึ้น 57.2% อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.001) และผู้ร่วมวิจัยกว่า 77.8% พึงพอใจในผลลัพธ์ของการรักษา
  • กลุ่มที่สอง ทำการรักษาด้วย Diffractive lens array มีค่า MSI ที่ดีขึ้น 75.7% อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.001) และผู้ร่วมวิจัยกว่า 93.0% พึงพอใจในผลลัพธ์ของการรักษา

ดังนั้นจากงานวิจัยฉบับนี้ แสดงให้เห็นว่า Picosecond Alexandrite Laser พร้อมด้วย Flat lens และ Diffractive Lens สามารถรักษาผู้ป่วยชาวเอเชียแม้อยู่ในสภาพอากาศที่มีแสงแดดจัดได้มีประสิทธิภาพ

Reference :
Niwat P, Emil T, Treatment of Refractory Melasma in Asians With the Picosecond Alexandrite Laser, Dermatol Surg 2020; 00: 1-6